ความเป็นมาของบริษัท
2511
ก่อตั้งบริษัท ธนายง จำกัด (ธนายง)
2534
ธนายงเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ภายใต้หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
2535
ธนายงปรับเปลี่ยนธุรกิจมุ่งเน้นระบบขนส่งมวลชนทางราง ภายใต้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอสซี) เพื่อเข้าลงนามในสัญญาสัมปทานจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในการสร้างและบริหารระบบรถไฟฟ้าแห่งแรกของกรุงเทพมหานคร (รถไฟฟ้าบีทีเอสสายหลัก)
2540
เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงถึง130% เมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเวลาไม่ถึง 6 เดือน ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งธนายงและบีทีเอสซี เนื่องจากทั้งสองบริษัทมีภาระหนี้สินในสกุลดอลลาร์หรัฐฯ ในสัดส่วนที่สูง
2542
เปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสสายหลัก
2549-2551
ธนายงและบีทีเอสซีออกจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการภายหลังได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย
2552
เปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีลม
ขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจสื่อโฆษณา โดยการเข้าซื้อกิจการของบริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) (วีจีไอ) 100%
2553
ธนายงซื้อหุ้นบีทีเอสซีในสัดส่วน 94.6% และได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอส กรุ๊ป)
บีทีเอสซีเริ่มให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรถโดยสารด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) ภายใต้สัญญาจ้างผู้เดินรถพร้อมจัดหารถโดยสารและสัญญาจ้างผู้บริหารสถานี
2554
เปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท
2555
บีทีเอสซีลงนามในสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงส่วนต่อขยายสายสีเขียว 1 และเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสสายหลัก ภายหลังครบกำหนดสัญญาสัมปทาน
วีจีไอ ซึ่งเป็น บริษัทย่อยของกลุ่มบริษัทได้เข้าจดทะเบียนและซื้อขายในตลท. โดยใช้ชื่อย่อ “VGI”
2556
บีทีเอส กรุ๊ปจดทะเบียนกองทุนกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF) ซึ่งเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกองทุนแรกในประเทศไทย โดยกองทุนดังกล่าวลงทุนในสิทธิการรับรายได้ค่าโดยสารสุทธิในอนาคตที่จะเกิดขึ้นจากการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสสายหลัก
เปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีลมเพิ่มเติม
2558
บีทีเอส กรุ๊ปเสริมความแข็งแกร่งในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ผ่านการเข้าลงทุนในบริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน) (ยู ซิตี้) ในสัดส่วนเริ่มแรกที่ 35.6%
2560
บีทีเอสซีลงนามในสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือและใต้
บริษัทย่อยซึ่งบีทีเอส กรุ๊ป ถือหุ้นในสัดส่วน 75% ได้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลืองจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
2561
บีทีเอส กรุ๊ป ปรับโครงสร้างในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยการโอนกิจการทั้งหมดที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ไปยัง ยู ซิตี้
บีทีเอสซีลงนามในสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่ 1
เปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีเขียวฝั่งใต้
วีจีไอ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจจากเดินที่เป็นผู้ให้บริการสื่อโฆษณานอกบ้านสู่ผู้ให้บริการแบบ Offine-to-Online (O2O) Solutions ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ ‘Pioneering Solutions for Tomorrow’
วีจีไอ เข้าลงทุน 23.0%1 ในเคอรี่ เอ็กเพรส (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นผู้นำด้านการจัดส่งพัสดุในประเทศ
1ณ เดือนมีนาคม 2564 วีจีไอ ถือหุ้น เคอรี่ เอ็กเพรส สัดส่วน 18% ภายหลักการเสนอขายหลักทรัพย์ (IPO) ของ เคอรี่ เอ็กเพรส ในเดือนธันวาคม 25632563
กิจการร่วมค้าซึ่งบีทีเอส กรุ๊ป ถือหุ้นในสัดส่วน 35% ได้ลงนามในสัญญาร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา ซึ่งจะเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3
กิจการร่วมค้าซึ่งบีทีเอส กรุ๊ป ถือหุ้นในสัดส่วน 40% ได้เป็นผู้ชนะประมูลโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 2 เส้นทาง ได้แก่เส้นทาง M6 และ M81
เปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีเขียวฝั่งเหนือ
เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่ 1
2564
บีทีเอส กรุ๊ป ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ภายใต้ ‘3M’ ซึ่งประกอบได้ด้วยธุรกิจ MOVE, MIX and MATCH ภายใต้สโลแกนใหม่ของบริษัทฯ ‘Borderless, Transform, Solutions’
วีจีไอ เข้าลงทุนร้อยละ 51 ในบริษัท แฟนสลิ้งค์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (Fanslink) และร้อยละ 15 ในบริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) (Jaymart) เพื่อขยายและต่อยอดแพลตฟอร์มธุรกิจการจัดจำหน่าย
กิจการร่วมค้าซึ่งบีทีเอส กรุ๊ป ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 40 ได้ลงนามในสัญญาการให้บริการดำเนินงานและบำรุงรักษา โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง M6 (บางประอิน - นครราชสีมา) และ M81 (บางใหญ่ - กาญจนบุรี)
ยู ซิตี้ เปลี่ยนแผนการดำเนินธุรกิจระยะยาวจากอสังหาริมทรัพย์สู่ธุรกิจธุรกิจบริการทางการเงิน
2565
วีจีไอ เข้าลงทุนร้อยละ 59.9 ในบริษัท เนชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) (NINE) โดย NINE ได้รับสิทธิ์ดำเนินการพื้นที่จำหน่ายสินค้าของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส
บริษัทย่อยซึ่งบีทีเอส กรุ๊ป ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 75 ลงนามในสัญญาการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยายถึงเมืองทองธานี นับเป็นการเพิ่มโครงข่ายให้กับรถไฟฟ้าของบีทีเอส
บีทีเอส กรุ๊ป เข้าลงทุนร้อยละ 41 ในบริษัท ธนูลักษณ์ จำกัด (มหาชน) (TNL) บริษัทย่อยของบริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (SPI) ที่เป็นหน่วยธุรกิจด้านการลงทุนของกลุ่มสหพัฒน์เพื่อขยายและกระจายพอร์ตการลงทุนธุรกิจ MATCH ของบีทีเอส กรุ๊ป ไปสู่ธุรกิจการปล่อยสินเชื่อที่มีอสังหาริมทรัพย์ค้ำประกัน
ยู ซิตี้ ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น บริษัท แรบบิท โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (แรบบิท โฮลดิ้งส์)
2566
NINE ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของวีจีไอ ได้ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กรและโลโก้ ภายใต้ชื่อบริษัทใหม่เป็นบริษัท ซุปเปอร์ เทอร์เทิล จำกัด (มหาชน) (TURTLE)
เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และวีจีไอ ได้รับสิทธิในการบริหารพื้นที่ สื่อโฆษณาบนสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และวีจีไอได้รับสิทธิในการบริหารพื้นที่สื่อโฆษณาบนสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู
บริษัท มาสเตอร์ แอด จำกัด (มหาชน) (MACO) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมที่บีทีเอส กรุ๊ป และวีจีไอถือหุ้นรวมทั้งหมดร้อยละ 44 ได้ทำการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กร รวมถึงเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น บริษัท ร็อคเทค โกลบอล จำกัด (มหาชน) (ROCTEC)