) สรุปข้อสนเทศบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
กลับ
เท่าที่ผ่านมา BTSC ได้เริ่มลงทุนโดยการซื้อที่ดิน 5 แปลง และได้เริ่มดำเนินการไปในบางส่วนแล้ว ดังรายละเอียดที่
กล่าวถึงในส่วนโครงการดำเนินงานในอนาคต ข้อ 3 เรื่องธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตาม จากที่บริษัทฯ เข้าซื้อหุ้น
5
ร้อยละ 94.6 ของ BTSC บริษัทฯ เห็นว่ามีโอกาสที่จะส่งเสริม หรือสร้างให้การดำเนินการในโครงการเหล่านี้มี
ประสิทธิภาพมากขึ้นได้ จากการที่บริษัทฯ มีประสบการณ์และมีความพร้อมในด้านบุคลากรในการพัฒนา
อสังหาริมทรัพย์มาอย่างยาวนาน บริษัทฯ จึงมีแผนที่จะเข้าร่วมดำเนินงานในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เช่น
รับเหมาออกแบบก่อสร้างโครงการ รับบริการจัดการโครงการ
อย่างไรก็ตาม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงทางด้านการเงิน และเพื่อให้บริษัทฯ และ BTSC สามารถบริหารเงินทุนของ BTSC
ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น บริษัทฯ และ BTSC จึงเปิดกว้างต่อโอกาสในการหานักลงทุนที่มีเงินทุนพร้อมสนับสนุน
การพัฒนาโครงการ โดย BTSC จะยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทย่อย
4. ธุรกิจให้บริการ
4.1 ธุรกิจสมาร์ทการ์ด
BTSC ได้จัดตั้งบริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด เพื่อให้บริการบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Money) โดย
BTSC ได้ร่วมลงนามสัญญาพัฒนาระบบบัตรโดยสารร่วมกับ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ("บีเอ็มซีแอล")
ซึ่งเป็นผู้เดินรถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อร่วมกันดำเนินงานระบบบัตรโดยสารร่วมสำหรับระบบขนส่งมวลชนของทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารให้สามารถใช้บัตรโดยสารเพียงใบเดียวเดินทางกับระบบขนส่งมวลชนทั้ง
สองระบบ นอกจากนี้ ในอนาคต BTSC อาจให้ธนาคารพาณิชย์ ร้านค้า และผู้ให้บริการต่างๆ เข้าร่วมใช้ระบบสมาร์ท
การ์ดนี้ได้เพื่อให้บัตรเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้น และทำให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกมากขึ้นตามไปด้วย
ในปัจจุบันบริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด อยู่ระหว่างการขอใบอนุญาตประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับบัตร
เงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Money) จากธนาคารแห่งประเทศไทย
4.2 ธุรกิจบริหารโรงแรม
บริษัทฯ ได้ร่วมทุนกับผู้ร่วมทุนซึ่งมีประสบการณ์บริหารโรงแรมมาอย่างยาวนาน เพื่อจัดตั้งบริษัท แอ๊บโซลูท
โฮเต็ล เซอร์วิส จำกัด ("AHS") เพื่อให้บริการและคำปรึกษา และบริหารจัดการโรงแรมภายใต้แบรนด์ "U" และ
"Eastin" ซึ่ง AHS เป็นเจ้าของแบรนด์ ทั้งนี้ AHS มีข้อตกลงที่จะบริหารโรงแรมของบริษัทฯ อีกจำนวน 2 แห่ง ภายใน
แบรนด์ "U" ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับปรุงใหม่ที่กาญจนบุรี และกำลังออกแบบโครงการที่เขาใหญ่
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 บริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนในฮ่องกงกับผู้ร่วมทุนกลุ่มเดียวกัน ภายใต้ชื่อ บริษัท แอ๊บโซลูท
โฮเต็ล เซอร์วิส ฮ่องกง ลิมิเต็ด เพื่อประกอบธุรกิจบริหารจัดการโรงแรมและให้บริการที่ปรึกษาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และ
เป็นบริษัทลงทุนในหุ้นของบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคซึ่งดำเนินกิจการบริหารจัดการโรงแรมและให้บริการที่ปรึกษา
4.3 ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
บริษัทฯ ได้ร่วมลงทุนกับบริษัท ฮิบเฮง โอเวอร์ซี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้า งจากฮ่องกงซึ่งมี
ประสบการณ์ในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ในต่างประเทศและมีความรู้และเทคโนโลยีการก่อสร้างเป็นอย่างดี เพื่อ
จัดตั้ง บริษัท ฮิบเฮง คอนสตรัคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ("ฮิบเฮง") ซึ่งดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง โดยโครงการ
แรกของฮิบเฮง คือ โครงการโรงแรมโฟร์พอยท์ เชอราตันตั้งอยู่ในศูนย์กลางธุรกิจบนถนนสาทร ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสุร
ศักดิ์ เป็นโรงแรมระดับ 4 ดาว สูง 32 ชั้น จำนวนห้องพัก 437 ห้อง โดยมีมูลค่าตามสัญญาก่อสร้างประมาณ 2,035
ล้านบาท
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้รับจ้างพัฒนาที่ดินและก่อสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทรจำนวน 20,000 หน่วย ซึ่งต่อมาจำนวน
ดังกล่าวถูกลดลงเป็น 8,048 หน่วย ซึ่งบริษัทฯ ได้ดำเนินการว่าจ้างผู้รับเหมาจากภายนอก และได้ดำเนินการก่อสร้าง
และโอนให้การเคหะแห่งชาติแล้วจำนวน 4,216 หน่วย อยู่ระหว่างก่อสร้าง จำนวน 2,108 หน่วย และยังไม่เริ่มก่อสร้าง
จำนวน 1,724 หน่วย
4.4 ธุรกิจกอล์ฟคลับ
บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจกอล์ฟคลับในโครงการธนาซิตี้ บนถนน บางนา-ตราด ผ่านบริษัทย่อย ชื่อบริษัท ธนาซิตี้ กอล์ฟ
แอนด์ สปอร์ต คลับ จำกัด ซึ่งให้บริการกอล์ฟคลับ เพื่อการใช้บริการสนามกอล์ฟมาตรฐาน 18 หลุม ของบริษัทฯ
โครงสร้างรายได้
1. โครงสร้างรายได้ของบริษัทฯ ก่อนการเข้าซื้อหุ้นสามัญ BTSC
บริษัทฯ มีรายได้หลักจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รายละเอียดโครงสร้างรายได้ดังตารางด้านล่าง
6
งบการเงินรวม
งวดปี สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม งวดเก้าเดือนสิ้นสุด
วันที่ 31 ธันวาคม
2550 2551 2552
2552
ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้าน ร้อยละ
บาท
รายได้จากการขาย
29.8 0.87 10.2 0.41 48.8 4.56 81.7 8.30
อสังหาริมทรัพย์
รายได้จากการ
จัดหาที่ดิน
502.1 14.68 144.3 5.79 0.0 0.00 0.0 0.00
โครงการบ้านเอื้อ
อาทร
รายได้จากการ
0.0 0.00 831.7 33.39 547.4 51.13 574.0 58.30
รับเหมาก่อสร้าง
รายได้ค่าเช่าและ
74.5 2.18 138.2 5.55 167.9 15.68 118.6 12.05
การบริการ
รายได้จากกิจการ
35.2 1.03 37.4 1.50 36.8 3.44 28.2 2.86
โรงแรม
อื่นๆ 2,778.3 81.24 1,329.2 53.4 269.9 25.2 182.2 18.5
รวมรายได้ 3,419.9 100.00 2,491.0 100.00 1,070.7 100.00 984.6 100.00
หมายเหตุ ไม่รวมกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้
2. โครงสร้างรายได้ของ BTSC
BTSC มีรายได้หลักจากการให้บริการรถไฟฟ้า โดยเก็บค่าโดยสารจากผู้ใช้บริการสำหรับการใช้บริการในแต่ละเที่ยว
นอกจากนี้ BTSC ยังมีรายได้จากการโฆษณา ทั้งพื้นที่ภายในและพื้นที่รอบนอกขบวนรถไฟฟ้า และพื้นที่ในสถานี
รายได้จากการให้เช่าพื้นที่ร้านค้าที่สถานี รวมไปถึงรายได้จากการดำเนินการในการเชื่อมทางเดินจากสถานีไปยัง
อาคารต่างๆ (Sky-Bridge) และหลังจาก BTSC ได้เข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของวีจีไอ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2552 BTSC ก็
เริ่มรับรู้รายได้จากการให้เช่าพื้นที่โฆษณาในร้านค้าปลีกชั้นนำขนาดใหญ่ต่างๆ รายละเอียดโครงสร้างรายได้ดังตาราง
ด้านล่าง
งบการเงินเฉพาะกิจการ งบการเงินรวม
งวดปี สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม งวดเก้าเดือนสิ้นสุด
วันที่ 31 ธันวาคม
2550 2551 2552
2552
ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ
ร ย ไ ด้ จ ก ค่ 3,062.5 76.45 3,221.1 38.45 3,288.1 77.22 2,588.9 77.05
โดยสารสุทธิ
ร ย ไ ด้ จ ก ก ร 0.0 0.00 0.0 0.00 0.0 0.00 151.9 4.52
ให้บริการเดินรถ
ร ย ไ ด้ จ ก ก ร 0.0 0.00 0.0 0.00 0.0 0.00 298.5 8.88
ให้บริการ
รายได้อื่น
รายได้จากพื้นที่ 228.7 5.71 277.3 3.31 344.8 8.10 222.5 6.62
ให้เช่า
โฆษณาและ
ร้านค้า
รายได้ค่าบริการ 19.4 0.48 31.3 0.37 24.8 0.58 10.1 0.30
7
สาธารณูปโภค
โอนกลับค่าเผื่อ 0.0 0.00 4,688.7 55.97 0.0 0.00 0.0 0.00
การลดลงของ
มูลค่าต้นทุน
โครงการ
กำไรจากอัตรา 578.7 14.45 0.0 0.00 0.0 0.00 0.0 0.00
แลกเปลี่ยน
อื่นๆ 116.4 2.91 158.4 1.89 600.7 14.11 88.0 2.62
รวมรายได้ 4,005.7 100.00 8,376.7 100.00 4,258.4 100.00 3,360.0 100.00
3. โครงสร้างรายได้ของบริษัทฯ ภายหลังการเข้าซื้อหุ้นสามัญ BTSC
ภายหลังการเข้าซื้อหุ้นสามัญ BTSC บริษัทฯ ไม่มีนโยบายที่จะเปลี่ยนแปลงลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ
หรือของ BTSC คือ บริษัทฯ จะยังคงดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และ BTSC จะยังคงดำเนินธุรกิจการ
ดำเนินการระบบขนส่งมวลชน ดังนั้น จึงคาดว่า ภายหลังการเข้าซื้อหุ้นสามัญ BTSC รายได้จากค่าโดยสารจากการ
ให้บริการรถไฟฟ้าของ BTSC จะเป็นรายได้หลักของกลุ่มบริษัทในอนาคต และยังมีรายได้จากโครงการพัฒนา
อสังหาริมทรัพย์ในสัดส่วนที่น้อยกว่า เนื่องจากโครงการส่วนใหญ่อยู่ในช่วงเริ่มต้นพัฒนาโครงการ
สรุปสาระสำคัญของสัญญา
1. สัญญาสัมปทานระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร
1.1 คู่สัญญา
BTSC และ กรุงเทพมหานคร
1.2 รายละเอียดสาระสำคัญของสัญญา
BTSC ได้เข้าทำสัญญาสัมปทานระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร กับกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2535
และแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2538 และวันที่ 28 มิถุนายน 2538 โดย BTSC เป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้าง
ดำเนินงาน และบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสเป็นระยะเวลา 30 ปี หลังจากที่ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสเริ่มดำเนินงานใน
เชิงพาณิชย์ ซึ่งภายใต้เงื่อนไขของสัญญา BTSC มีสิทธิได้รับรายได้จากกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
อันรวมถึง การโฆษณา การให้สิทธิ และการเก็บค่าโดยสารในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสเป็นระยะเวลา 30 ปีนับแต่วันแรกที่
ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสเริ่มประกอบดำเนินงานในเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ หาก BTSC ประสงค์จะต่อสัญญา BTSC จะต้อง
มีหนังสือแจ้งต่อกรุงเทพมหานครล่วงหน้าอย่างน้อย 3 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี เพื่อต่ออายุสัมปทานของ BTSC ซึ่งตาม
กำหนดจะสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2572 ทั้งนี้การต่ออายุสัมปทานดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบล่วงหน้า
จากรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย
2. สัญญาสำหรับขบวนรถไฟฟ้า (Rolling Stock)
2.1 คู่สัญญา
BTSC และ บริษัท ชางชุน เรลเวย์ วีฮิเคิล จำกัด และบริษัท ซีไอทีไอซี อินเตอร์เนชั่นแนล โคออปเปอร์เรชั่น จำกัด
(ร่วมกันในฐานะ "ผู้จัดจำหน่าย")
2.2 รายละเอียดสาระสำคัญของสัญญา
BTSC ได้เข้าทำสัญญาสำหรับขบวนรถไฟฟ้า (Rolling Stock) กับผู้จัดจำหน่าย เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2550 โดยผู้จัด
จำหน่ายจะดำเนินการผลิต จัดหา และส่งมอบขบวนรถไฟฟ้า (Rolling Stock) จำนวน 12 ขบวน ตามข้อกำหนดและ
เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ โดยสัญญานี้มีระยะเวลาไม่เกิน 36 เดือนนับตั้งแต่ที่ BTSC ได้ออก "คำสั่งให้เริ่ม
ดำเนินการ" (Instruction to Proceed) หรือภายในระยะเวลาที่ขยายออกไปตามที่อนุญาตไว้ในสัญญานี้
3. สัญญาติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ CBTC
3.1 คู่สัญญา
BTSC และ บริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล (ประเทศไทย) จำกัด ("ผู้รับจ้าง")
3.2 รายละเอียดสาระสำคัญของสัญญา
BTSC ได้เข้าทำสัญญาติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ CBTC กับผู้รับจ้าง เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2550 โดยผู้รับจ้างจะ
ดำเนินงานในส่วนของการติดตั้ง ตรวจสอบ และทดสอบการใช้งาน ของระบบที่เกี่ยวข้องกับระบบอาณัติสัญญาณ
CBTC ซึ่งดำเนินการจัดหาภายใต้สัญญาจัดหาวัสดุในต่างประเทศ (Foreign Supply Contract) และจะดำเนินงาน
ทั้งหมดจนสำเร็จครบถ้วนภายในระยะเวลาไม่เกิน 36 เดือน นับตั้งแต่สัญญาเริ่มมีผลบังคับ
8
4. สัญญาจัดหาวัสดุระบบอาณัติสัญญาณ CBTC
4.1 คู่สัญญา
BTSC และ บริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น สวีเดน เอบี. ("ผู้จำหน่าย")
4.2 รายละเอียดสาระสำคัญของสัญญา
BTSC ได้เข้าทำสัญญาจัดหาวัสดุระบบอาณัติสัญญาณ CBTC กับผู้จำหน่าย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2550 โดยผู้
จำหน่ายต้องจัดหาอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณ CBTC (CBTC Signaling System) ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ได้
กำหนดไว้ในสัญญา
5. สัญญาให้สิทธิบริหารจัดการด้านการตลาด (License to Manage Marketing Services Agreement)
5.1 คู่สัญญา
BTSC และ บริษัท วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด ("วีจีไอ")
5.2 รายละเอียดสาระสำคัญของสัญญา
BTSC ได้เข้าทำสัญญาให้สิทธิบริหารจัดการด้านการตลาด (License to Manage Marketing Services Agreement)
กับวีจีไอ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2544 โดยวีจีไอได้รับอนุญาตให้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการบริหารจัดการด้าน
การตลาดเกี่ยวกับพื้นที่โฆษณา พื้นที่การค้า และพื้นที่ภายนอกขบวนรถไฟฟ้า และได้รับอนุญาตให้มีสิทธิ (แต่ไม่จำกัด
แต่เพียงผู้เดียว) ในการบริหารจัดการด้านการตลาดในส่วนของพื้นที่เพิ่มเติมภายใต้ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่กล่าวไว้ใน
สัญญานี้ โดยสัญญานี้มีระยะเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2542 วีจีไอมีสิทธิขอขยายการได้รับอนุญาตตาม
สัญญานี้ออกไป 5 ปี ภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญานี้
6. สัญญาซ่อมบำรุงเกี่ยวกับระบบขนส่งกรุงเทพมหานคร (Maintenance Agreement Relating to the
Bangkok Metropolitan Administration Transit System)
6.1 คู่สัญญา
BTSC และ บริษัท ซีเมนส์ จำกัด ("ผู้ซ่อมบำรุง")
6.2 รายละเอียดสาระสำคัญของสัญญา
BTSC ได้เข้าทำสัญญาซ่อมบำรุงเกี่ยวกับระบบขนส่งกรุงเทพมหานคร (Maintenance Agreement Relating to the
Bangkok Metropolitan Administration Transit System) กับผู้ซ่อมบำรุง เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2547 โดยผู้ซ่อม
บำรุงจะให้บริการซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) ภายใต้สัญญานี้ "ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) "
หมายถึง ระบบ (System) ซึ่งไม่รวมถึงอาคารต่างๆ (นอกเหนือจากส่วนภายในของอาคารคลังพัสดุของผู้ว่าจ้าง) และ
โครงสร้างทางวิศวกรรมโยธาต่างๆที่ประกอบกันเข้า แต่ให้รวมถึง (ก) ระบบรางรถไฟ (Trackwork) (ซึ่งนิยามไว้ว่า
ส่วนประกอบและสิ่งติดตั้งถาวรของรางรถไฟ ที่อยู่บนโครงสร้างของพื้นรองรางรถไฟรวมถึงแผ่นปรับระดับ) (ข) ระบบ
ย่อยทั้งหมดที่การดำเนินการถูกเชื่อมต่อภายในเพื่อให้เข้าเกณฑ์การดำเนินงาน (ซึ่งระบุไว้ในตารางในสัญญานี้) และ
ระบบไฟฟ้าจากจุดสิ้นสุดของเอ็มอีเอเคเบิล ที่ตู้จ่ายไฟของ BTSC 24 กิโลโวลต์ติดตั้งไว้ ณ สถานีย่อยจตุจักร และไผ่
สิงโต ตามลำดับ ซึ่งผู้ซ่อมบำรุงเป็นผู้จัดหาภายใต้สัญญาก่อสร้าง แต่ไม่รวมเครื่องเก็บเงินค่าโดยสารอัตโนมัติ ลิฟต์
และบันไดเลื่อน โดยสัญญานี้มีระยะเวลา 10 ปีนับแต่วันที่ลงนามในสัญญานี้
7. สัญญา Design and Build Contract for BTS Surasak Hotel
7.1 คู่สัญญา
บริษัทฯ และ บริษัท บีทีเอส แอสเสทส์ จำกัด ("ผู้รับจ้าง")
7.2 รายละเอียดสาระสำคัญของสัญญา
บริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญา Design and Build Contract for BTS Surasak Hotel กับผู้รับจ้าง เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม
2551 โดยผู้รับจ้างตกลงเป็นผู้รับเหมาออกแบบและก่อสร้างโรงแรมระดับ 4 ดาว แบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ที่มีจำนวน
ห้องพักไม่น้อยกว่า 430 ห้อง โดยโครงการตั้งอยู่ในศูนย์กลางธุรกิจบนถนนสาทร ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสุรศักดิ์
8. สัญญาร่วมดำเนินกิจการโครงการบ้านเอื้ออาทร จำนวน 20,000 หน่วย
8.1 คู่สัญญา
บริษัทฯ และ การเคหะแห่งชาติ
8.2 รายละเอียดสาระสำคัญของสัญญา
บริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญาร่วมดำเนินกิจการโครงการบ้านเอื้ออาทร จำนวน 20,000 หน่วย กับการเคหะแห่งชาติ เมื่อ
วันที่ 25 เมษายน 2549 โดยบริษัทฯ จะร่วมดำเนินการจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทรจำนวน 20,000 หน่วย ทั้งนี้
9
โครงการมี ลั กษณะเป็ น อาคารชุ ด พั ก อาศั ย สู ง 3 ชั้ น และ 4 ชั้ น พร้ อ มระบบสาธารณู ป โภค และสาธารณู ป การตาม
มาตรฐานของการเคหะแห่งชาติ
โครงการดำเนินงานในอนาคต
1. ธุรกิจการดำเนินการระบบขนส่งมวลชน
1.1 การปรับเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณ
BTSC ได้ลงนามในสัญญากับกลุ่มบริษัท บอมบาร์ดิเอร์ (Bombardier) เพื่อปรับเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณของระบบ
รถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งหมด ซึ่งระบบใหม่นี้จะสามารถรองรับการให้บริการในส่วนต่อขยายของระบบรถไฟฟ้าได้ดีขึ้น อีกทั้ง
ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเนื่องจากเป็นระบบที่ทันสมัยขึ้น นอกจากนี้ ระบบใหม่นี้ยังทำให้ BTSC พึ่งพาผู้
ให้บริการน้อยลงเนื่องจากตามสัญญา BTSC จะได้รับข้อมูลทางเทคนิคที่จำเป็นต่อการดำเนินงานและการฝึกอบรมจาก
บอมบาร์ดิเอร์ ซึ่งทำให้ BTSC สามารถดำเนินการต่างๆ ได้ด้วยตนเองมากขึ้น ระบบใหม่จะเริ่มใช้งานในสายสีลมก่อน
และใช้งานได้ทั้งสองเส้นทางภายในเดือนธันวาคม 2553 และสามารถพร้อมให้บริการได้ภายในเดือนธันวาคม 2553
1.2 การเพิ่มจำนวนขบวนรถไฟฟ้า
เพื่อรองรับความต้องการในเส้นทางเดิมที่เพิ่มขึ้นและโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีลมและสายอื่นๆ BTSC ได้
สั่งซื้อรถไฟฟ้าอีก 12 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ (ปัจจุบันแต่ละขบวนมี 3 ตู้) จากซีอาร์ซีซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถไฟและ
รถไฟฟ้าชั้นนำในประเทศจีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะทยอยรับมอบขบวนรถไฟฟ้าทั้งหมดภายในมิถุนายน 2553 โดย
คาดว่ารถไฟฟ้าใหม่ทั้งหมดจะพร้อมให้บริการเชิงพาณิชย์ภายในเดือนธันวาคม 2553
1.3 ระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ
นอกเหนือจากที่ BTSC ได้รับการว่าจ้างเป็นผู้ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีลมนั้น BTSC ก็
ยังมีความสนใจจะรับเป็นผู้ดำเนินการของโครงการระบบขนส่งมวลชนในอนาคต ทั้งที่เป็นส่วนต่อขยายจากระบบ
รถไฟฟ้าบีทีเอส และระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบรับจ้างบริหารและดำเนินงาน หรือแบบที่ BTSC เป็นผู้
ลงทุนบางส่วนหรือทั้งหมดเนื่องจาก BTSC จะมีโอกาสได้รับรายได้จากการรับจ้างดำเนินงานรถไฟฟ้าแล้ว ยังจะได้รับ
ประโยชน์จากจำนวนผู้โดยสารที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากผู้โดยสารสามารถเข้าถึงบริการรถไฟฟ้าและน่าจะเข้ามา
ใช้บริการในส่วน 23.5 กม. แรกซึ่ง BTSC เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งจะทำให้รายได้ค่าโดยสารจากระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส มี
แนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย โดยบริษัทฯ และ BTSC จะต้องพิจารณารายละเอียดและประโยชน์แก่ BTSC อย่างถี่ถ้วนเพื่อให้
เกิดประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น
โครงการที่ BTSC มีความสนใจที่จะดำเนินงานส่วนต่อขยายสายวงเวียนใหญ่ - บางหว้า และอ่อนนุช - แบริ่ง ซึ่งขณะนี้
กทม. ยังไม่ได้มีการกำหนดคัดเลือกผู้ดำเนินการที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม BTSC เชื่อว่า BTSC มีโอกาสที่ดีในการได้รับ
การคัดเลือกเป็นผู้บริหารเส้นทางส่วนต่อขยายหรือรับสัมปทาน เนื่องจากโดยสภาพของรางรถไฟฟ้าที่ต่อเนื่องกันเป็น
สายเดียวการบริหารด้วยผู้ประกอบการรายเดียวย่อมมีประสิทธิภาพสูงกว่า
สำหรับโครงการอื่นๆ โดยเฉพาะส่วนต่อขยายสายสีเขียวจากหมอชิตไปสะพานใหม่ และจากแบริ่งไปสมุทรปราการซึ่ง
ภาครัฐยังอยู่ระหว่างการเตรียมการ และยังไม่มีการสรุปแนวทางและบทบาทที่จะให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมนั้น BTSC มี
แผนการที่จะติดตามอย่างใกล้ชิด และจะประเมินโอกาสในการเข้าร่วมประมูลไม่ว่าจะเป็นแบบที่ BTSC เป็นผู้บริหารและ
ดำเนินงานเท่านั้น หรือแบบที่ BTSC ต้องลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเอง หากโอกาสดังกล่าวก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม
แก่ BTSC BTSC ก็จะพิจารณาลงทุน
นอกจากนี้ BTSC ยังมีความสนใจที่จะประกอบธุรกิจและให้บริการระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ อาทิเช่น รถไฟฟ้าขนาดเบา
(Light Rail) และโครงการรถด่วนพิเศษ (BRT) อีกทั้ง BTSC ยังมีความสนใจที่จะประกอบธุรกิจระบบขนส่งมวลชนใน
ต่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของ BTSC โดยอาจเป็นการทำธุรกิจในรูปแบบต่างๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น
การรับจ้างดำเนินการ การลงทุน หรือการเป็นที่ปรึกษา
2. ธุรกิจสื่อโฆษณา
สำหรับธุรกิจโฆษณาบนระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส กลุ่มวีจีไอมีแผนที่จะสรรหาพื้นที่โฆษณาเพิ่มเติม โดยการเข้าบริหาร
พื้นที่โฆษณาบนขบวนรถไฟฟ้าใหม่ของ BTSC อีก 12 ขบวน ซึ่ง BTSC มีแผนที่จะเริ่มนำมาให้บริการภายในสิ้นปี 2553
และวีจีไอยังมีนโยบายที่จะเข้าบริหารพื้นที่โฆษณาบนรถโดยสาร จำนวน 25 คัน ที่ BTSC จะใช้ให้บริการในโครงการ
รถด่วนพิเศษ หรือ BRT สายแรก (ช่องนนทรี-ราชพฤกษ์) ซึ่ง BTSC ได้รับเลือกเป็นผู้รับสัมปทานในการบริหารและ
ดำเนินการเดินรถ
3. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
โครงการในอนาคตของบริษัท
คอนโดมิเนียมบนถนนสุขุมวิท 66/1 กรุงเทพฯ
โครงการคอนโดมิเนียมแนวราบสไตล์บูติคจำนวน 2 โครงการ แต่ละโครงการมีห้องพัก 55 ห้อง ในรูปแบบ 1
ห้องนอน และ 2 ห้องนอน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น สระว่ายน้ำและฟิตเนส โดยโครงการตั้งอยู่บนที่ดินรวม
10
ประมาณ 2 ไร่ ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสอุดมสุขส่วนต่อขยายเพียง 250 เมตร ทั้งนี้บริษัทคาดว่าจะเปิดขาย
โครงการครั้งแรกกลางปี 2553
โรงแรม ยู อินจันทรี
โครงการโรงแรมสไตล์บูติค (Boutique Hotel) ระดับ 4 ดาว บนที่ดินประมาณ 5 ไร่ ริมฝั่งแม่น้ำแคว ภายใต้ชื่อ
"โรงแรม ยู อินจันทรี" ในเครือ ยู โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท เป็นโครงการที่มีโรงแรมเดิมอยู่แล้ว ปัจจุบันโครงการอยู่ใน
ระหว่างขั้นตอนปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเดิม ภายในโครงการมีต้นอินจันอายุมากกว่า 100 ปี ซึ่งจะเป็นจุดเด่นให้กับ
โรงแรมในการพัฒนาและปรับปรุงต่อไปในอนาคต คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือนพฤศจิกายน 2553
โครงการในอนาคตของ BTSC
BTSC ได้เข้าซื้อที่ดินจำนวน 5 แปลงในเขตกรุงเทพฯ ที่อยู่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าเพื่อการพัฒนาในอนาคต โดย
BTSC มีนโยบายที่จะลงทุนผ่านบริษัทย่อยและให้บริษัทย่อยจัดหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมที่ต้องใช้จากภายนอกได้
เพื่อให้บริษัทย่อยไม่ต้องพึ่งแหล่งเงินทุนจาก BTSC ทั้งหมด ไม่ว่าจะโดยการหาผู้ร่วมทุน หรือออกตราสารต่างๆ โดย
บริษัทย่อยตามภาวะตลาดที่เหมาะสม หรือการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ซึ่งบริษัทฯมีแผนที่จะร่วมพัฒนาโครงการเหล่านี้
กับ BTSC เพื่อใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ที่บริษัทฯ มีทำให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาโครงการสูงขึ้น
โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของ BTSC 5 โครงการ ได้แก่
โครงการอาคารชุดพักอาศัยบนที่ดินเนื้อที่ประมาณ 22 ไร่ 2 งาน 18 ตารางวา ซึ่งเป็นสินทรัพย์อย่างเดียวของ
นูโวไลน์ ซึ่ง BTSC ถือหุ้นร้อยละ 80 ที่ดินดังกล่าวตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ใกล้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลสาขา
ลาดพร้าว อยู่ในแนวส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม และมีสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน ปัจจุบันนูโวไลน์ได้ทำสัญญา
ว่าจ้างบริษัทฯ เป็นที่ปรึกษางานบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนาอาคารชุดพักอาศัย 3 หลังภายใต้ ชื่อ
"Abstracts" และได้ก่อสร้างสำนักงานขายเสร็จสิ้นในเดือน เมษายน 2553 และคาดว่าจะเริ่มทำการขายตึกแรกใน
เดือนมิถุนายน 2553 โดยได้ว่าจ้าง CB Richard Ellis (CBRE) เป็นนายหน้าซื้อขายสำหรับอาคาร 1 ซึ่งมีจำนวน
ห้องประมาณ 1,000 ห้อง
โครงการโรงแรม 4 ดาว จำนวน 430 ห้อง ที่ดินเนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน 57 ตารางวา ตั้งอยู่บนถนนสาทรใต้ ซึ่งสามารถ
เชื่อมต่อกับสถานีถนนสุรศักดิ์ได้ โดยจะพัฒนาเป็นโรงแรมขนาด 29 ชั้นและได้ทำสัญญาว่าจ้างกลุ่มโรงแรมสตาร์
วูดเป็นผู้บริหารโรงแรมภายใต้ชื่อ "Four Points by Sheraton" ทั้งนี้ได้ก่อสร้างเสร็จแล้วกว่าร้อยละ 20 และคาด
ว่าจะสร้างเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการภายในสิ้นปี 2554
โครงการโรงแรม 5 ดาว ประมาณ 210 ห้อง และเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ ประมาณ 128 หน่วย ซึ่งได้ทำสัญญาว่าจ้าง
กลุ่มโรงแรมแลงแฮมเป็นผู้บริหารโรงแรมภายใต้ชื่อ "The Langham" และเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ภายใต้ชื่อ "The
Langham Residence" โดยโครงการนี้ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท มีเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 69 ตารางวา ซึ่งสามารถเชื่อมต่อ
กับสถานีรถไฟฟ้านานาได้ ทั้งนี้ได้ว่าจ้างสถาปนิกแล้ว
โครงการโรงแรม 5 ดาว ประมาณ 440 ห้อง ซึ่งได้ทำสัญญาว่าจ้างกลุ่มโรงแรมแลงแฮมเป็นผู้บริหารโรงแรม
ภายใต้ชื่อ "Langham Place" สำหรับที่ดินบนถนนพญาไท เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 67 ตารางวา ซึ่งสามารถเชื่อมต่อ
กับสถานีพญาไท และสถานีรถไฟฟ้า Airport Linkได้ ทั้งนี้ได้ว่าจ้างสถาปนิกแล้ว
ที่ดินเนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 63.3 ตารางวา ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ใกล้ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ BTSC ขณะนี้อยู่ใน
ระหว่างการพิจราณาความเป็นไปได้ในการสร้างอาคารที่พักอาศัย และอาคารสำนักงานบนที่ดินแปลงนี้ โดยมีแผน
จะเริ่มทำการขายภายในสิ้นปี 2553
BTSC คาดว่าโครงการเหล่านี้จะใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 27,000 ล้านบาท รวมเงินลงทุนในที่ดินทุกแปลง BTSC คาด
ว่าจะใช้เงินทุนจาก BTSC เองประมาณ 5,000 ล้านบาท ซึ่งเงินลงทุนในส่วนที่เกินกว่านี้ BTSC มีนโยบายที่จะให้บริษัท
(ยังมีต่อ)