ชี้แจงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงผลกำไรสำหรับปีสิ้นสุด 31 มีค 53
กลับ
ที่ BTS 2164/2553
วันที่ 31 พฤษภาคม 2553
เรื่อง ชี้แจงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงผลกำไร สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2553
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (เดิมชื่อ บริษัท ธนายง จำกัด (มหาชน))
(" บริษัทฯ ") ขอเรียนชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของ บริษัทฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่
31 มี น คม 2553 มี ผ ลกำ ไรส่ ว นที่ เ ป็ น ของผู้ ถื อ หุ้ น บริ ษั ท ใหญ่ จำ นวน 224.7 ล้ นบาท เมื่ อ
เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงาน สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2552 ซึ่งมีผลกำไรสุทธิ 20.2 ล้าน
บาท กำไรเพิ่มขึ้น 204.5 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มีผลมาจากคำอธิบาย ดังต่อไปนี้
1. บริษัทฯ มีผลกำไรจากการรับเหมาก่อสร้างเพิ่มขึ้น 43.3 ล้านบาท ซึ่งมีผลมาจากโครงการ
บ้านเอื้ออาทรเพิ่มขึ้นสุทธิจำนวน 29.1 ล้านบาท ที่ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากโครงการเอื้ออาทรชลบุรี
(นาจอมเทียน) และรายได้จากโครงการโรงแรมโฟร์พอยท์ เชอราตันสุทธิจำนวน 14.2 ล้านบาท
2. บริษัทฯ มีรายได้จากการบริหารจัดการโครงการเพิ่มขึ้น 24.0 ล้านบาทซี่งส่วนใหญ่เกิด
จากโครงการแอ็บสแตร็กส์ พหลโยธิน พาร์ค ในปีปัจจุบัน ซึ่งในปีก่อนไม่มีรายการดังกล่าว
3. บริษัทฯ ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดจากการทำสัญญาขายสิทธิในการเรียกร้องหนี้ของบีทีเอสซี
และบันทึกกำไรรวมถึงดอกเบี้ยรับเป็นรายได้จากการขายสิทธิในการเรียกร้องหนี้จำนวน 59.0 ล้าน
บาท ซึ่งในปีก่อนไม่มีรายการดังกล่าว
4. ในระหว่างปีปัจจุบัน บริษัทฯ ได้จัดให้ผู้ประเมินราคาอิสระทำการประเมินมูลค่ายุติธรรม
ของสินทรัพย์ ปรากฎดังนี้
มูลค่ายุติธรรมของ " ต้นทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ " ของบริษัทฯ มีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าสุทธิ
ตามบัญชีซึ่งได้ประเมินไว้เมื่อปี 2550 ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้บันทึกโอนกลับค่าเผื่อผลขาดทุนจากการ
ลดลงของมูลค่าโครงการดังกล่าวซึ่งเคยบันทึกไว้ในบัญชีเป็นจำนวนเงิน 45.6 ล้านบาท ซึ่งในปีก่อน
ไม่มีรายการดังกล่าว
มูลค่ายุติธรรมของ " ที่ดินและโครงการรอการพัฒนาในอนาคต " , " ที่ดินอาคาร ส่วน
ปรับปรุงและต้นทุนพัฒนาสนามกอล์ฟ " และ " ห้องพักอาศัยและเครื่องตกแต่งให้เช่า " ของบริษัทฯ
มีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าสุทธิตามบัญชีซึ่งได้ประเมินไว้เมื่อปี 2550 ดังนั้น บริษัทฯจึงได้บันทึกโอนกลับ
สำรองเผื่อการด้อยค่า ของสินทรัพย์ ดังกล่าวซึ่งเคยบันทึกไว้ในบัญชี เป็น จำนวนเงิน 167.0 ล้านบาท
ซึ่งในปีก่อนไม่มีรายการดังกล่าว
5. ในปีปัจจุบันบริษัทฯ ได้มีการชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ ดังนั้น บริษัทฯ
จึงบันทึกปรับมูลค่าของการชำระดังกล่าวให้เป็นไปตามมูลค่าที่ระบุไว้ ในแผนฟื้นฟูกิจการ และ
บันทึกกำไรจากการชำระหนี้เป็นจำนวนเงิน 142.6 ล้านบาท ซึ่งในปีก่อนไม่มีรายการดังกล่าว
6. ในปีบัญชีก่อน บริษัทฯ ได้มีการปรับปรุงบัญชีเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ โดยแสดงเป็น
รายการกำไรจากการยกเลิกการค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 195.1 ล้านบาท ซึ่งในปีปัจจุบันไม่มีรายการ
ดังกล่าว
7. บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายบริหารเพิ่มขึ้นจำนวน 64.1 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มีผลมาจากการริเริ่ม
โครงการใหม่ ๆ การศึกษาความเป็นไปได้ การเพิ่มจำนวนพนักงานเพื่อรองรับการขยายงาน การระดม
ทุนโดยการออกจำหน่ายใบสำคัญแสดงสิทธิ ทำให้มีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าที่ปรึกษาทาง
กฎหมายและที่ปรึกษาทางการเงินเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเงิน 26.6 ล้านบาท ค่าตอบแทนพนักงานเพิ่มขึ้น
จำนวน 21.5 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จำนวน 16.0 ล้านบาท
8. บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายจากการตั้งสำรองเผื่อผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์เพิ่มขึ้น
สุทธิจำนวน 14.4 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการชะลอการลงทุนในโครงการกมลาบีช
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
(เดิมชื่อ บริษัท ธนายง จำกัด (มหาชน))
(นายสุธรรม ศิริทิพย์สาครและนายรังสิน กฤตลักษณ์)
กรรมการ
ที่ BTS 2165/2553
วันที่ 31 พฤษภาคม 2553
เรื่อง ขอนำส่งจดหมายชี้แจงงบการเงิน รวมสำหรับปี สิ้นสุด31 มีนาคม 2553 ของบริษัทย่อย
(บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)) และบริษัทย่อย
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ขอนำส่งจดหมายชี้แจงงบการเงิน รวมสำหรับ
ปี สิ้นสุด 31 มีนาคม 2553 ของบริษัทย่อย (บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)) และ
บริษัทย่อย ตามเอกสารที่แนบมานี้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
(เดิมชื่อ บริษัท ธนายง จำกัด (มหาชน))
นายสุธรรม ศิริทิพย์สาคร และนายรังสิน กฤตลักษณ์
กรรมการ
เลขที่ BTSC.GAR.35623.B0100.31.05.2010
วันที่ 31 พฤษภาคม 2553
เรื่อง การวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2553
เรียน กรรมการ และผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ขอเรียนชี้แจงเพิ่มเติมสำหรับการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของ
บริษัทฯ ซึ่งแสดงกำไรก่อนกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ ตามงบการเงินรวมสำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 มีนาคม
2553 สูงขึ้น 1,597.7 ล้านบาท จากขาดทุนก่อนกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ จำนวน 615.5 ล้านบาท ในปี
สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2552 เป็น กำไรก่อนกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ 982.2 ล้านบาท ในปีสิ้นสุดวันที่
31 มีนาคม 2553 ซึ่งมีผลมาจากการวิเคราะห์ผลการดำเนินต่อไปนี้
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของ บีทีเอส สำหรับงวด 12 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2553
1. รายได้รวมของ บีทีเอส
รายได้หลักของ บีทีเอส นั้นมาจากรายได้ค่าโดยสาร ซึ่งสำหรับงวด 12 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2553 และ 2552 บีทีเอส มี
รายได้จากค่าโดยสารสุทธิจำนวน 3,484.7 ล้านบาท และ 3,288.1 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70.9 และ 68.0 ของ
รายได้ทั้งหมดในแต่ละปี รายได้อื่นๆ ของ บีทีเอส นั้นมาจากการโฆษณาบนรถไฟฟ้าและตามสถานี การให้เช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ใน
สถานี การให้บริการเดินรถในส่วนต่อขยายสายสีลม ดอกเบี้ยรับ รวมไปถึงรายได้อื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมต่างๆ จากธุระกรรมที่
เกี่ยวข้องกับเส้นทางเชื่อมต่อกับสถานี
งบการเงินรวม
สำหรับงวด 12 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม
2552 2553
(ล้านบาท) (ล้านบาท)
(ตรวจสอบ)
รายได้จากค่าโดยสารสุทธิ 3,288.1 3,484.6
รายได้จากการให้บริการเดินรถ - 195.0
รายได้จากการให้บริการ 45.4 106.0
รายได้จากพื้นที่ให้เช่า โฆษณาและร้านค้า 901.8 994.2
รายได้ค่าบริการสาธารณูปโภค 1.9 2.3
ดอกเบี้ยรับ 139.3 29.5
อื่น 459.4 102.2
รายได้รวม 4,835.9 4,913.8
รายได้จากค่าโดยสาร
ในงวด 12 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2553 รายได้ค่าโดยสารสุทธิ เพิ่มขึ้นจาก 3,288.1 ล้านบาทในงวดเดียวกันสิ้นสุดวันที่ 31
มีนาคม 2552 เป็น 3,484.6 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 6 ซึ่งเกิดจากการเปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีลมเมื่อวันที่
15 พฤษภาคม 2552 ซึ่งส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 จากงวดเดียวกันของปีบัญชีก่อน ทั้งนี้ นับเฉพาะผู้โดยสารที่เข้า
มาใช้บริการในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสเท่านั้น ในขณะที่อัตราค่าโดยสารเฉลี่ยต่อเที่ยวการเดินทางในงวด 12 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31
มีนาคม 2553 ลดลงเล็กน้อยจาก 24.23 บาท เป็น 24.22 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.08 จากงวดเดียวกันสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2552
รายได้อื่น
บีทีเอส เริ่มให้บริการเดินรถสำหรับส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีลม 2.2 กิโลเมตร ตั้งแต่ 15 พ.ค. 2552 และเริ่มมี
รายได้จากการให้บริการดังกล่าว โดยได้รับค่าจ้างในงวดดังกล่าวเป็นจำนวน 195 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4 ของ
รายได้ทั้งหมด ทั้งนี้ รายได้จากการให้บริการเดินรถรวมถึงรายได้จากการจัดเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มให้บริการ
จำนวน 43.7 ล้านบาท
รายได้จากการให้บริการคือรายได้จากธุรกิจของกลุ่มวีจีไอ และบริษัทในเครือ ซึ่งประกอบด้วยค่าบริหารงาน ส่วน
แบ่งรายได้จากค่าโฆษณา เป็นจำนวนแงิน 106 ล้านบาท
รายได้จากพื้นที่ให้เช่า โฆษณาและร้านค้า คือ รายได้จากการให้เช่าพื้นที่ร้านค้า และโฆษณา ในสถานีบีทีเอส และ
รายได้จากการโฆษณาในร้านค้าปลีก
ตามงบการเงินรวมบีทีเอสมีรายได้จากพื้นที่ให้เช่า โฆษณาและร้านค้าในงบการเงินรวมจำนวน 994.2 ล้านบาท
ซึ่งรายได้จากการให้เช่าพื้นที่ร้านค้า และโฆษณา ในสถานีบีทีเอส ซึ่งเป็นรายได้ที่ต้องแบ่งให้กับกลุ่มวีจีไอตาม
สิทธิสัญญาให้สิทธิบริหารจัดการด้านการตลาดบนรถไฟฟ้าและสถานีรถไฟฟ้า
2. ค่าใช้จ่ายของ บีทีเอส
ค่าใช้จ่ายหลักของ บีทีเอส ได้แก่ ต้นทุนค่าโดยสาร ซึ่งในงวด12 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2553 และ 31 มีนาคม 2552 คิดเป็น
ร้อยละ 66.9 และ 63.4 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดก่อนค่าใช้จ่ายทางการเงินตามลำดับ และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร คิดเป็นร้อยละ
24.3 และ 23.4 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดก่อนค่าใช้จ่ายทางการเงิน
งบการเงินรวม
สำหรับงวด 12 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม
2552 2553
(ล้านบาท) (ล้านบาท)
(ตรวจสอบ)
ต้นทุนค่าโดยสาร 2,108.2 2,127.7
ต้นทุนการให้เช่าพื้นที่โฆษณา และร้านค้า 102.7 251.5
ต้นทุนการให้บริการ 69.7 100.3
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 811.8 830.7
ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 60.4 46.9
รวมค่าใช้จ่าย 3,152.8 3,357.1
ค่าใช้จ่ายทางการเงิน 2,265.7 515.1
ต้นทุนค่าโดยสาร
ต้นทุนค่าโดยสารประกอบด้วยค่าใช้จ่ายหลักคือ ค่าตัดจำหน่ายต้นทุนโครงการ เงินเดือนพนักงานปฏิบัติการ
ค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุงและค่าสาธารณูปโภค
ในงวด 12 เดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2553 ค่าใช้จ่ายดังกล่าวนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของ
ค่าตัดจำหน่ายต้นทุนโครงการ ตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้โดยสาร
เงินเดือนพนักงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 จากการเพิ่มจำนวนพนักงาน จาก 1,371 คน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม
2552 เป็น 1,521 คน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2553 เพื่อรองรับการดำเนินการในส่วนต่อขยายสายสีลม
และการปรับขึ้นเงินเดือนตามปรกติ
ค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุงลดลงร้อยละ 21.5 จาก 607.5 ล้านบาท สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2552 เป็น 476.6
ล้านบาท งวดเดียวกันสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2553 เนื่องจากการเสร็จสิ้นของการปรับปรุงครั้งใหญ่ (Overhaul)
ต้นทุนการให้เช่าพื้นที่โฆษณา และร้านค้า
- ต้นทุนการให้เช่าพื้นที่โฆษณา และร้านค้าเพิ่มขึ้นจาก 102.7 ล้านบาทในงวดเดียวกันสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2552
เป็น 251.5 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าสัมปทานตามสัญญา โดยต้นทุนการจ่ายค่าสัมปทานใน
รูปแบบของส่วนแบ่งรายได้ซึ่งผันแปรไปตามยอดขายที่เพิ่มขึ้น
ต้นทุนการให้บริการ
- ต้นทุนการให้บริการเพิ่มขึ้นจาก 69.7 ล้านบาทในงวดเดียวกันสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2552 เป็น 100.3 ล้านบาท
สาเหตุหลักเกิดจากค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานของธุรกิจให้เช่าพื้นที่โฆษณาในร้านค้าปลีก และอาคารสำนักงาน
ของวีจีไอ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวประกอบด้วยค่าสัมปทานในส่วนของการให้เช่าพื้นที่โฆษณาในร้านค้าปลีก และอาคาร
สำนักงาน ค่าใช้จ่ายในการผลิตสื่อ ค่าเสื่อมราคาเป็นต้น
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 จาก 811.8 ล้านบาทในปีสิ้นสุด 31 มีนาคม 2552 เป็น 830.7 ล้านบาทในปีสิ้นสุด
31 มีนาคม 2553
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายหลัก คือ เงินเดือนและสวัสดิการพนักงาน ค่าโฆษณาและแผนส่งเสริมการ
ขาย ค่าสาธารณูปโภคและค่ารักษาความปลอดภัย ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย และค่าที่ปรึกษา
ในงวดปีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2553 ค่าโฆษณาและแผนส่งเสริมการขายเพิ่มขึ้นเป็น 79.7 ล้านบาทจาก 71.5
ล้านบาท ในงวดเดียวกันสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2552 เนื่องจากการประชาสัมพันธ์หุ้นกู้และงานครบรอบ 10 ปี
ของบีทีเอสเป็นหลัก อีกส่วนเกิดจากค่าโฆษณาและแผนส่งเสริมการขายของกลุ่มวีจีไอซึ่งมีการเริ่มรับรู้ หลังบีที
เอสเข้าลงทุนในหุ้นสามัญทั้งหมดของกลุ่มวีจีไอ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2552
ค่าสาธารณูปโภคและค่ารักษาความปลอดภัย ได้แก่ ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค และค่าใช้จ่ายในการรักษาความ
ปลอดภัยสำหรับสถานีและสำนักงานใหญ่ ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราค่าแรงขั้นต่ำ และจำนวนพนักงาน ซึ่งเพิ่มขึ้น
ตามจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น และจากการเพิ่มจำนวนพนักงานรักษาความปลอดภัยในสถานี หลังเหตุการณ์
ระเบิดในช่วงปลายปี 2549 ทำให้ค่าใช้จ่ายในงวดปีบัญชี 2552 และ 2553 สูงขึ้นตามไปด้วย
ในงวดในงวดปีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2553 ค่าสาธารณูปโภคและค่ารักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการ
ปรับขึ้นของอัตราค่าไฟ (Ft) และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีลม 2.2 กิโลเมตร
ในงวด 12 เดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2553 ค่าที่ปรึกษาลดลง เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายของที่ปรึกษาด้านแผน
ฟื้นฟูกิจการเป็นหลัก
ค่าใช้จ่ายทางการเงิน
ในงวด 12 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2553 บีทีเอสมีค่าใช้จ่ายทางการเงินลดลงเป็น 515.1 ล้านบาท เนื่องจากบีทีเอส ชำระ
ดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้ ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยผิดนัดมาก
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
?????????????????????.
(นายคีรี กาญจนพาสน์ และ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา)
กรรมการ