คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

กลับ
คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการ เ งินและผลกา รดำ เนินง น 16 สิงหาคม 2553 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ภาพรวมธุรกิจ ไตรมาสแรกของปี 53/54 นับเป็นก้าวสำคัญของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (เดิม บริษัท ธนายง จำกัด (มหาชน)) ที่จะต้องบันทึกใน ประวัติศาสตร์การดำเนินงานของบริษัท โดยพัฒนาการเชิงบวกที่เห็นได้ชัดของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (BTSG หรือ "บริษัท") คือการที่ บริษัทได้ทำการเข้าซื้อหุ้นในสัดส่วน 94.6% ของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งการทำธุรกรรมในครั้งนี้จัดว่าเป็นการควบรวมกิจการใน หมวดธุรกิจขนส่งครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยนับตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา ภายหลังบริษัทได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และ ย้ายหมวดธุรกิจเป็นหมวดขนส่งและโลจิสติกส์ บริษัทได้ดำเนินการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 28,166.9 ล้านหุ้น ซึ่งคิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 20,655.7 ล้านบาท เพื่อชำระค่าหุ้นในสัดส่วน 48.4% ของมูลค่าธุรกรรมรวม 40,034.5 ล้านบาท ในขณะเดียวกันบริษัทได้ดำเนินการกู้เงินในวงเงินจำนวน 21,000 ล้านบาทจาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพื่อชำระค่าหุ้นในส่วนที่เหลือสัดส่วน 51.6% หรือ 20,655.7 ล้านบาท อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานของบริษัทในไตรมาส 1 ปี 53/54 ได้รับผลกระทบจากภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นในส่วนของเงินกู้จำนวน 21,000 ล้านบาทเพื่อใช้ในการทำธุรกรรมครั้งนี้ โดยภายหลังบริษัทได้ชำระคืน เงินกู้ในส่วนของวงเงินกู้ A (Tranche A) จำนวน 12,000 ล้านบาทด้วยการระดมทุนจากการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ ตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายถืออยู่ (Right Offering) และจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนในแก่บุคคลในวงจำกัดแก่นักลงทุนประเภทสถาบันการเงิน ในทางกลับกันผลการดำเนินงานของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้รับผลกระทบเชิงลบอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์การเคลื่อนไหวทาง การเมือง ทำให้การดำเนินธุรกิจในกรุงเทพมหานครต้องหยุดชะงักลงในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 ผลจากการปิดระบบการเดินรถไฟฟ้าส่งผลให้ จำนวนผู้โดยสารในช่วงเวลาดังกล่าวมีจำนวนลดลงแม้ว่าจำนวนผู้โดยสารจะกลับคืนสู่ระดับปกติเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2553 ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวยุติลง ไม่นานก็ตาม อย่างไรก็ตามโดยปกติแล้วจำนวนผู้โดยสารในไตรมาสแรกมักจะมีจำนวนลดลงเนื่องจากการปิดภาคการศึกษาของสถานศึกษา ทำให้ผลกระทบจาก เหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกจัดว่ายังเป็นผลกระทบที่ไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับกรณีที่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในไตรมาส 4 ซึ่งนับเป็นช่วงที่ยอด ผู้โดยสารมีจำนวนสูงสุดของปี เพราะจะทำให้ผลการดำเนินงานถูกกระทบรุนแรงกว่าไตรมาส 1 บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเมินว่า รายได้รวมที่ลดลงจากเหตุการณ์ทางการเมืองในครั้งนี้คิดเป็นมูลค่า 150 ล้านบาท โดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ยังเชื่อมั่นว่ารายได้ของ บริษัทจะฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปี 53/54 ทั้งนี้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นเรียกร้องขอส่วนชดเชยจากทางกรุงเทพมหานครต่อ เหตุการณ์ดังกล่าวไปแล้ว นอกจากการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าแล้ว เศรษฐกิจไทยในขณะนี้ก็อยู่ในสภาวะที่แข็งแกร่ง ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจบ่งบอกถึงการเติบโต โดยถ้วนหน้าของภาคการส่งออก การบริโภคภายในประเทศและการลงทุนภาคเอกชน ขณะที่คาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของ ธนาคารโลกและธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีการปรับเป้าสูงขึ้นตามลำดับ โดยในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือน กรกฎาคม 2553 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการปรับเป้าอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศขึ้นจาก 4.3%-5.8% เป็น 6.5%-7.5% ผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 1 ปี 53/54 เนื่องจากบริษัทได้รวมกิจการของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัทลูกเข้าสู่การรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน บริษัทจึงได้ทำ การปรับย้อนหลังงบการเงินรวมของบริษัท และงบการเงินเฉพาะกิจการสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2553 และงบการเงินประจำไตรมาสสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2552 เสมือนกับว่าบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งถูกรวมกิจการในเดือนพฤษภาคม 2553 เป็นบริษัทย่อยของบริษัทมาโดยตลอด บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (รวมกันเรียกว่า "กลุ่มบริษัท") มีรายได้รวมในไตรมาส 1 ปี 53/54 เท่ากับ 1,220.8 ล้านบาท ลดลง 16% หรือ 231ล้านบาทจาก 1,446.1 ล้านบาทเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 52/53 โดยรายได้จากธุรกิจระบบขนส่งมวลชน ธุรกิจสื่อโฆษณา ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจบริการคิดเป็นสัดส่วน 66.6%, 24.2%, 8.4% และ 0.8% ของรายได้รวมตามลำดับ ไตรมาส 1 ปี 53/54 (งวด 3 เดือนสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2553) 1 คำอธิบายและกา ร วิเคร ห์ฐ นะกา ร เ งินและผลกา รดำ เนินง น 16 สิงหาคม 2553 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) จำแนกรายได้ตามกลุ่มธุรกิจ(ล้านบาท) ไตรมาส 1 53/54 % ของยอดรวม ไตรมาส 1 52/53 % เปลี่ยนแปลง (YoY) ระบบขนส่งมวลชน1 794.0 66.6% 893.9 -11.2% สื่อโฆษณา 299.7 25.1% 244.3 +22.7% อสังหาริมทรัพย์1 89.7 7.5% 283.5 -68.4% บริการ1 9.0 0.8% N/A N/A รวม2 1,192.5 100% 1,421.6 -16.1% รวม2 1 รายได้จากระบบขนส่งมวลชนประกอบด้วยรายได้ค่าโดยสารและรายได้ค่าบริการจากการบริหารรถไฟฟ้า รายได้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประกอบด้วยยอดขายอสังหาริมทรัพย์, ค่าเช่าและ ค่าบริการ ธุรกิจก่อสร้างและบริการ แต่ไม่รวมรายได้ค่าบริการจากโครงการสนามกอล์ฟธนาซิตี้ ซึ่งจัดอยู่ในธุรกิจบริการ 2 ยอดรวมไม่คำนึงถึงรายได้อื่นๆมูลค่า 28.4 ล้านบาทจากดอกเบี้ย, กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและอื่นๆ การลดลงของรายได้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีสาเหตุหลักมาจากรายได้จากการรับเหมาก่อสร้างลดลง 88.1% หรือ 172.8 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ไตรมาส 1 ปี 52/53 กอปรกับการลดลงของรายได้ค่าโดยสาร 13.5% หรือ 111.4 ล้านบาทเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 52/53 โดยการลดลงของรายได้จากการ รับเหมาก่อสร้างนั้นเป็นผลมาจากการที่บริษัทได้ส่งมอบบ้านเอื้ออาทร หัวหิน, สระบุรีและพัทยาเฟส 1 ซึ่งทำให้ปัจจุบันโครงการในส่วนดังกล่าวที่ยังไม่ได้ส่ง มอบเหลือเพียงบ้านเอื้ออาทร จอมเทียน เฟส 1 ในขณะที่ค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชนนั้นถูกกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในเดือนพฤษภาคม ซึ่งส่งผลให้รถไฟฟ้าต้องหยุดดำเนินการเป็นจำนวนแปดวันเต็มและการลดช่วงเวลาให้บริการลงเป็นเวลาหลายวัน อย่างไรก็ดีรายได้ของธุรกิจสื่อโฆษณานั้นมีการ เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 1 ปี 52/53 รายได้ในส่วนนี้ขยายตัว 22.7% หรือ 55.5 ล้านบาทเป็น 299.7 ล้านบาท เนื่องจากการรับรู้รายได้ในการทำสัญญา โฆษณากับเทสโก้ โลตัสและคาร์ฟูร์ในเดือนกรกฎาคม 2552 และการควบรวมกิจการบริษัท พีโอวี มีเดีย กรุ๊ป เข้ามาที่บริษัท วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย จำกัดในเดือน ตุลาคม 2552 แม้ว่ารายจ่ายรวมจะลดลง 4.5% เหลือ1,004.5 ล้านบาท แต่ผลการลดลงของรายได้ทำให้กำไรจากการดำเนินงาน (Operating profit) 3 ลดลง 18.6% หรือ 68.3 ล้านบาทมาอยู่ที่ 299.2 ล้านบาทเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 52/53 ในไตรมาส 1 ปี 53/54 กลุ่มบริษัทมีผลขาดทุน 243.3 ล้านบาท (ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัท ใหญ่ไตรมาส 1 ปี 53/54 มีผลขาดทุน 253.9 ล้านบาท) เทียบกับกำไรสุทธิที่ 294.8 ล้านบาทในไตรมาส 1 ปี 52/53 (ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ไตรมาส 1 ปี 52/53 มีผลกำไรสุทธิ 279.6 ล้านบาท) เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการเงิน ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 440.1 ล้านบาท (เทียบกับ 51.4 ล้านบาทในไตรมาส 1 ปี 52/53) เนื่องจากบริษัทใช้เงินกู้ในส่วนของวงเงินกู้ A (Tranche A) จำนวน 12,000 ล้านบาทและวงเงินกู้ B (Tranche B) จำนวน 9,000 ล้านบาทเพื่อนำมาใช้ใน การเข้าซื้อหุ้นบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สัดส่วน 94.6% ทั้งนี้บริษัทได้มีการชำระคืนหนี้วงเงินกู้ A (Tranche A) ไปในเดือนมิถุนายน 2553 สินทรัพย์รวม ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 53/54 อยู่ที่ 61,416 ล้านบาท เปลี่ยนแปลง 0.23% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 52/53 โดยการเปลี่ยนแปลงในส่วนของโครงสร้าง งบดุล เช่น การเพิ่มขึ้นของส่วนของผู้ถือหุ้นจาก 2.38 หมื่นล้านบาทเป็น 3.61 หมื่นล้านบาท, การลดลงของหนี้สินหมุนเวียนจาก 2.53 หมื่นล้านบาทเป็น 4.3 พันล้านบาท นั้นเป็นผลมาจากการจัดประเภทใหม่บางรายการ เนื่องจากการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกันซึ่งได้มีการอธิบายในรายละเอียดหมายเหตุ ประกอบงบการเงินประจำไตรมาส 1 ปี 53/54 ทั้งนี้หนี้สินระยะยาวของกลุ่มบริษัทที่เพิ่มขึ้นจาก 149.3 ล้านบาทเป็น 9,052 ล้านบาทนั้นเป็นผลมาจากเบิกเงินกู้ ในส่วนของวงเงินกู้ B ซึ่งมีอายุ 3 ปี ซึ่งยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน 3ไม่นับรวมรายได้และรายจ่ายอื่นๆ, ดอกเบี้ยจ่าย, ภาษีเงินได้และต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน คำอธิบายและกา ร วิเคร ห์ฐ นะกา ร เ งินและผลกา รดำ เนินง น 16 สิงหาคม 2553 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) พัฒนาการที่สำคัญในไตรมาส 1 ปี 53/54 ธุรกิจระบบขนส่งมวลชน จำนวนผู้โดยสาร ในไตรมาส 1 ปี 53/54 ที่ผ่านมา การให้บริการของรถไฟฟ้า บีทีเอส ได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศ จากเหตุการณ์ดังกล่าว รถไฟฟ้าต้องหยุดเดินรถเป็นเวลาแปดวันเต็มและลดช่วงเวลาการให้บริการลงเป็นจำนวนหลายวัน ส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารในไตรมาส 1 ปี 53/54 ลดลง 16% เป็น 28.4 ล้านคน เทียบกับยอดผู้โดยสาร 33.9 ล้านคนในไตรมาส 1ปี 52/53 โดยจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยในช่วงวันธรรมดาลดลง 17.4% เป็น 324,157 คนต่อวัน ธรรมดา จาก 392,292 คนต่อวันธรรมดาในไตรมาส 1 ปี 52/53 อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของจำนวนผู้โดยสารยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี โดยจำนวนผู้โดยสารรวมในเดือนมิถุนายน 2553 ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วสู่ระดับ 12.25 ล้านคน (ลดลงเพียง 0.2% เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2552) หรือเฉลี่ย 446,791 คนต่อวัน (เพิ่มขึ้น 0.05% เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2552) นอกจากนี้ค่าโดยสารเฉลี่ย ในไตรมาส 1 ปี 53/54 เพิ่มขึ้นจาก 24.54 บาทต่อคน เป็น 25.57 บาทต่อคน เนื่องจากบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ปรับขึ้นอัตราค่า โดยสารในส่วนของบัตรโดยสารรายเดือน กราฟจำนวนผู้โดยสารรายไตรมาสและจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยในวันธรรมดาให้ไปดูในไฟล์ PDF ที่แนบมา ในช่วงเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง สถานีรถไฟฟ้าศาลาแดงได้รับความเสียหายในส่วนของชานชลา ขณะที่สถานีรถไฟฟ้าราชดำริได้รับความเสียหายใน ส่วนของบันไดและชั้นจำหน่ายตั๋ว ค่าเสียหายทั้งหมดของสถานีรถไฟฟ้า บีทีเอส จากเหตุการณ์ดังกล่าวคิดเป็นมูลค่าประมาณ 5.8 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่ามูลค่าที่ กำหนดตามสัญญาประกันภัย ทั้งนี้บริษัทได้มีการทำประกันภัยจากเหตุการณ์วินาศกรรมซึ่งคุ้มครองรวมถึงผลกระทบเชิงธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตามจำนวนวันที่ต้อง รับผิดชอบส่วนแรกตามสัญญาประกันภัยวินาศกรรมคือ 14 วัน (สูงกว่าช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจริง 8 วันเต็ม) ดังนั้นบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จะไม่เรียกร้องค่าชดเชยภายใต้นโยบายนี้ ทั้งนี้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นเรื่องต่อกรุงเทพมหานครเพื่อขอรับค่าชดเชยต่อผลขาดทุน อันเป็นผลมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไตรมาส 1 ปี 53/54 นั้นเป็นไตรมาสที่รถโดยสารด่วนพิเศษ บีอาร์ที ได้เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2553 ซึ่งทางบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด กำหนดให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้บริการและบำรุงรักษาสถานีและรถโดยสาร รวมไปถึงโอกาสอื่นในการให้บริการด้าน ขนส่งมวลชนต่อประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยระบบรถโดยสารด่วนพิเศษช่วยเพิ่มจำนวนผู้โดยสารให้กับระบบรถไฟฟ้าสายหลักในส่วนของสะพาน เชื่อมต่อที่สถานีรถไฟฟ้า บีทีเอส ช่องนนทรี ทางกรุงเทพมหานครประเมินว่าปัจจุบันจำนวนผู้โดยสารของรถโดยสารความเร็วสูงนั้นเฉลี่ยอยู่ที่ 20,000 คนต่อวัน ในช่วงวันธรรมดา ไตรมาส 1 ปี 53/54 (งวด 3 เดือนสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2553) 3 คำอธิบายและกา ร วิเคร ห์ฐ นะกา ร เ งินและผลกา รดำ เนินง น 16 สิงหาคม 2553 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ในไตรมาส 1 ปี 53/54 บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการรับรถไฟฟ้าใหม่ซึ่งมีตู้โดยสาร 4 ตู้จำนวน 12 ขบวน ซึ่ง ขณะนี้รถไฟฟ้าดังกล่าวอยู่ระหว่างการทดลองวิ่ง ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายปีปฏิทิน 2553 ธุรกิจสื่อโฆษณา เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 บริษัท วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย จำกัดได้มีการเปิดตัวสื่อโฆษณาใหม่ในรูปแบบของวิทยุผ่านสาขาของเทสโก้ โลตัสทั้งหมด 698 สาขา ทั่วประเทศ โดยสัญญาการให้บริการสื่อโฆษณาดังกล่าวมีอายุ 5 ปี และจะหมดอายุลงในเดือนธันวาคมปี 2557 ซึ่งการเปิดตัวสื่อวิทยุในเทสโก้ โลตัสที่ผ่านมาของ บริษัท วี จี ไอ นั้นนับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มเติมจากส่วนนี้ในปี 2553/2554 ประมาณ 40 ล้านบาท ผู้บริหารคาดว่าสื่อโฆษณาข้างต้นจะเป็นการขยายขอบเขตการให้บริการโฆษณาของบริษัท วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด โดยรายได้จากการโฆษณาในส่วนของ ห้างสรรพสินค้าและธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาสัมปทานจากรถไฟฟ้า บีทีเอส นั้นคิดเป็นสัดส่วน 28% ของรายได้รวมในไตรมาส 1 ปี 53/54 ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจโรงแรม: การดำเนินการก่อสร้างโรงแรม Four Points by Sheraton ติดกับสถานีรถไฟฟ้าสุรศักดิ์นั้นต้องหยุดไปเป็นเวลา 2 สัปดาห์เนื่องจากเหตุการณ์ ความไม่สงบทางการเมืองในเดือนพฤษภาคม อย่างไรก็ดีบริษัทคาดว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างให้เสร็จตามแผนที่กำหนดไว้ในไตรมาส 3 ปีปฏิทิน 2554 โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาการก่อสร้างแล้วเสร็จ 25% ซึ่งโครงสร้างได้เสร็จถึงชั้น 14 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โรงแรม ยู เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในกลุ่มธุรกิจของบริษัทมีรายได้สำหรับไตรมาส 1 ปี 53/54 เท่ากับ 3 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 3% แม้ว่าภาคการ ท่องเที่ยวจะถูกกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในเดือนพฤษภาคม 2553 ก็ตาม แต่รายได้ของโรงแรมยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ และทางโรงแรม ก็ได้รับชื่อเสียงที่ดีต่อการบริการและสภาพแวดล้อมที่ตั้งอยู่ใจกลางของเมืองเก่าในจังหวักเชียงใหม่ ธุรกิจคอนโดมิเนียม: บริษัทได้เปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมภายใต้ชื่อ Abstracts ซึ่งโครงการ Abstracts พหลโยธิน ได้เปิดขายล่วงหน้าไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2553 และเปิดตัวโครงการ Abstracts สุขุมวิท 66/1 ไปในเดือนกรกฏาคม 2553 เช่นกัน โดยข้อมูลล่าสุดของยอดจองโครงการทั้งสองแห่งจะมีการชี้แจงให้ทราบ ในคำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 ปี 53/54 ธุรกิจบริการ ในไตรมาส 1 ปี 53/54 ที่ผ่านมาบริษัท แอ๊บโซลูท โฮเต็ล เซอร์วิส จำกัด ได้มีการขยายสัญญาธุรกิจการบริหารโรงแรมเพิ่มขึ้นอีก 6 แห่งและเซ็นสัญญารับทราบ บันทึกความเข้าใจเบื้องต้น (Memorandum of Understanding) กับอีก 18 โครงการ ทำให้ขณะนี้บริษัท แอ๊บโซลูท โฮเต็ล เซอร์วิส จำกัด ดำเนินการบริหาร อสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด 50 โครงการ (รวม 4,640 ห้อง) ภายใต้สัญญาซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาหรือเปิดดำเนินการไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โครงการ จำนวนโครงการ จำนวนห้อง ยู โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท 36 3,400 โรงแรมอิสติน / เรสซิเด้นท์ 6 750 อิสตินอีซี่ 2 110 โรงแรมและรีสอร์ทที่ไม่มีแบรนด์ 6 380 รวม 50 4,640 ไตรมาส 1 ปี 53/54 (งวด 3 เดือนสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2553) 4 คำอธิบายและกา ร วิเคร ห์ฐ นะกา ร เ งินและผลกา รดำ เนินง น 16 สิงหาคม 2553 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2553 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้เข้าซื้อหุ้นในสัดส่วน 10% คิดเป็นมูลค่า 20 ล้านบาทของบริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด ซึ่งให้บริการการเงินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยทางบริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัดนั้นร่วมมือกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ ให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อจัดทำบัตรโดยสารที่สามารถใช้ร่วมกันได้ โดยในอนาคตบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) อาจจะเปิดโอกาสให้ สถาบันทางการเงิน, ร้านค้าปลีกและผู้ให้บริการต่างๆสามารถเข้าร่วมพัฒนาบัตรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขยายขอบเขตการให้บริการของบัตรให้กว้างขึ้นเพื่อประโยชน์ แก่ผู้โดยสาร ทางบริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัดคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการบัตรโดยสารร่วมได้ในช่วงไตรมาส 1 ปีปฏิทิน 2554 อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ไตรมาส 1 53/54 ไตรมาส 1 52/53 ไตรมาส 4 52/53 อัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (current ratio) 1.93x 0.35x ความสามารถในการทำกำไร อัตราการเติบโตของยอดขาย (yoy) -16.1% อัตราการเติบโตของกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีและค่าเสื่อม (EBITDA growth) (yoy)-31.6% อัตรากำไรขั้นต้น 47.2% 40.6% อัตรากำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีและค่าเสื่อมต่อยอดขาย (EBITDA margin) 37.6% 46.1% อัตรากำไรสุทธิ -20.4% 20.7% ความสามารถในการชำระหนี้ อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน 0.60x 0.49x ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย กระแสเงินสดจากการดำเนินงานต่อดอกเบี้ยจ่าย 0.40x 6.52x มูลค่าตามบัญชี มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาท / หุ้น) 0.60 2.80 มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาท / หุ้น) มูลค่าตามบัญชี มุมมองของผู้บริหาร สำหรับไตรมาส 2 ปี 53/54 เรามองว่าเศรษฐกิจไทยจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง การบริโภคภาคเอกชนได้มีการกลับมาขยายตัวต่อเนื่อง โดยดัชนีการบริโภค ภาคเอกชนในเดือนมิถุนายนเติบโต 8.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ท่ามกลางปัจจัยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ, การเปิดให้บริการเต็มไตรมาสของรถ โดยสารด่วนพิเศษ บีอาร์ที และการให้บริการรถไฟฟ้า บีทีเอส ที่กลับคืนสู่ภาวะปกติ เราคาดว่าธุรกิจระบบขนส่งมวลชนของเราจะมีจำนวนผู้โดยสารที่อยู่ในระดับ แข็งแกร่งในไตรมาส 2 ปี 53/54 สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัทได้เปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมภายใต้ชื่อ Abstracts ในไตรมาส 2 ปี 53/54 ภายใต้แนวคิด City Solutions ชื่อของ โครงการนั้นมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและตั้งอยู่ใกล้กับระบบรถไฟฟ้า และเป็นโครงการเดียวที่ให้บัตรโดยสารรถไฟฟ้าฟรีแก่ผู้อยู่อาศัยเป็นเวลา 10 ปี ทาง บริษัทจะค่อยๆทยอยเปิดตัวโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้มีความแน่นอนสูงหลังจากที่ได้มีการเปิดตัวโครงการภายใต้ชื่อ Abstracts บริษัทเชื่อว่าด้วยประสบการณ์การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์จากบริษัท ธนายง จำกัด (มหาชน) ในอดีตและการร่วมทุนกับบริษัท ฮิบ เฮง คอนสตรัคชั่น จำกัดของประเทศฮ่องกง (หนึ่งในบริษัทก่อสร้างชั้นนำในประเทศฮ่องกง) จะทำให้แบรนด์ของโครงการนั้นดูแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตามกลุ่มบริษัทจะยังคงไม่มีการ รับรู้รายได้จากธุรกิจคอนโดมิเนียมจนกว่าจะมีการโอน ซึ่งคาดว่าจะอยู่ในปี 2555 สำหรับโครงการ Abstracts สุขุมวิท ซอย 66/1 (คาดการณ์มูลค่าโครงการ 390 ล้านบาท) และปี 2555/56 สำหรับโครงการ Abstracts พหลโยธิน เฟสแรก (คาดการณ์มูลค่าโครงการ 3,180 ล้านบาท) ไตรมาส 1 ปี 53/54 (งวด 3 เดือนสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2553) 5 คำอธิบายและกา ร วิเคร ห์ฐ นะกา ร เ งินและผลกา รดำ เนินง น 16 สิงหาคม 2553 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) จากการที่บริษัทได้ชำระหนี้ในส่วนของวงเงินกู้ก้อน A (Tranche A) ในเดือนมิถุนายน 2553 ทำให้ดอกเบี้ยจ่ายในไตรมาส 2 ปี 53/54 จะลดลงอย่างเป็นนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกที่ผ่านมา หลังจากที่บริษัทได้เข้าถือหุ้นในสัดส่วน 94.6% ของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กลุ่มบริษัทจะยังคง เดินหน้าให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจภายใต้ 4 กลุ่มธุรกิจหลักคือ ธุรกิจระบบขนส่งมวลชน, ธุรกิจสื่อโฆษณา, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจบริการ เพื่อที่จะเสริมสร้างประสิทธิภาพและเพิ่มเติมผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น แม้ว่าจะยังคงต้องใช้ระยะเวลาจนกว่าธุรกิจทั้งหมดของกลุ่มจะสร้างรายได้ให้กับกลุ่มได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ในขณะนี้กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่สำคัญนั้นมีความ ชัดเจนแล้ว โดยทางบริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด จะดำเนินการพัฒนาระบบบัตรโดยสารร่วมสำหรับระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร, บริษัท ฮิบ เฮง คอนสตรัคชั่น (ประเทศไทย) จะบริหารโครงการก่อสร้างของกลุ่มบริษัทอย่างมีคุณภาพ และบริษัท แอ๊บโซลูท โฮเต็ล เซอร์วิส จำกัด จะขยายธุรกิจ โรงแรมภายใต้ชื่อ ยู และ อิสติน ทั่วภูมิภาคเอเชีย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) นายกวิน กาญจนพาสน์ นายรังสิน กฤตลักษณ์ (กรรมการ) (กรรมการ) ไตรมาส 1 ปี 53/54 (งวด 3 เดือนสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2553) 6